จุดสีเหลือง (Weight mark) คือ บริเวณที่ยางมีน้ำหนักเบา เมื่อเทียบกับบริเวณอื่น เมื่อนำยางมาประกอบกับกระทะล้อ ควรให้วาล์วเติมลมตรงกับจุดสีเหลืองนี้ เพื่อช่วยให้น้ำหนักของยางสมดุลดีกว่าเดิม ซึ่งจะช่วยให้การถ่วงล้อทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
จุดสีแดง (Uniformity mark) คือ บริเวณที่หน้ายางมีค่าความโค้งตามแนวรัศมีมากกว่าบริเวณอื่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยางที่ส่งให้กับโรงงานประกอบรถยนต์ ที่ใช้ประโยชน์จากจุดแดงนี้ เนื่องจากกระทะล้อที่ส่งมาเพื่อประกอบกับยางจะมีจุดที่แสดงค่าความโค้งที่ขอบกระทะล้อด้วยเช่นกัน เมื่อประกอบให้จุดทั้ง 2 ตรงกัน จะช่วยให้ยางเส้นนั้นมีความกลมตามแนวรัศมีดียิ่งขึ้น
ควรหมั่นเดินดูยางทุกเส้นเบื้องต้นรอบรถก่อนขับรถทุกเช้า เพื่อดูความผิดปกติ ในเรื่องของ ยางแบนจากการสูญเสียลม ยางถูกบาดตำจากวัสดุต่างๆ และยางบวมเสียหายจาก การกระแทก ซึ่งการเดินรอบรถดูเช็คยางลดอุบัติเหตุได้ถึง 50% ของการเสียหายที่เกิดจากยาง
ตรวจสอบความลึกของดอกยาง โดย ดูจากสะพานยางหากต่ำกว่าควรเปลี่ยนทันที หรือ มีดอกยางเหลือน้อยกว่า 3 มิล โดยใช้การวัดจากเหรียญหากต่ำกว่าควรเปลี่ยนทันทีเพราะเนื่องจากยางจะไม่สามารถรีดน้ำได้ดีซึ่งอาจะเกิดอันตรายได้
ตรวจเช็คลมยาง โดย ควรเติมลมยางตามที่ทางผู้ผลิตรถกำหนด จะอยู่บริเวณข้างประตูคนขับ และควรเช็คลมทุกๆอาทิตย์เพื่อความปลอดภัย ควรเช็คลมยางทุกเดือนเนื่องจากค่าเฉลี่ยความดันลมยางจะลดลงประมาณ 2 ถึง 3 ปอนด์ต่อตารางนิ้วต่อเดือน
ความดันลมยางอ่อน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียหายของยาง
• ความดันลมยางที่สูงกว่าคำแนะนำของผู้ผลิตรถยนต์ 20% จะลดอายุการใช้งานของยางลงถึง 10,000 กม.
• ความดันลมยางที่ถูกต้อง จะช่วยในการประหยัดน้ำมัน
ควรตรวจสภาพยางที่มรอาการปริแตก หรือ แตกลายงาซึ่งเนื่องจากยางหมกสภาพ
ดูอาการสึกผิดปกติซึ่งอาจสังเกตุได้จากยางข้างหนึ่งสึกมากกว่าอีกข้างหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากศูนย์ล้อยางไม่ตรง หรือการสึกไม่สม่ำเสมอกันเนื่องจากไม่ได้รับการถ่วงล้อควรที่จะไปเข้าศูนย์บริการเพื่อทำการตั้งสูญและสลับยาง
เช็คจุกวาวลมว่ามีอาการรั่วหรือไม่ ซึ่งยางทุกเส้นควรมีจุกลมยางเพื่อป้องกันลมยางสึมออก
ควรเช็ควันเปลี่ยนยางหากครบ 50000-60000 กิโลเมตร หรือ 3 ปี หลักจากเปลี่ยนยาง เพื่อให้สมรรถนะที่ดีที่สุด ควรเปลี่ยนยางใหม่ และ ยางที่ใส่ไม่ควรเกิน 6 ปี จากวันผลิตยาง
สถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนมีอัตรเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่ง ยางเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมรถ และยึดเกาะถนน ซึ่งเราจะให้เห็นความแตกต่างระหว่างยางเก่าและยางใหม่
ระยะเบรคที่แตกต่างกันจากดอกยางที่ใหม่ที่เหลือเยอะและดอกยางเก่าที่เหลือดอกยางน้อย
เหตุผลที่ระยะหยุดที่แตกต่างกันนั้นเกิดจากการที่ดอกใหม่ที่ยังลึก และ ดอกยางเก่าที่มีดอกยางตื้นซึ่ง ร่องยางมีลักษณะในการทำให้น้ำผ่านได้ดีซึ่งหากการระบายน้ำที่หน้ายางทำได้ไม่ดีจะทำให้หน้ายางไม่สามารถสัมผัสพื้นถนนได้เต็มซึ่งมีลักษณะการทำงานดังภาพ
*ดังนั้นเราควรเปลี่ยนยางใหม่เมื่อดอกยางใกล้หมดและเนื้อยางแข็งเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่
1.ยางหมดอายุการใช้งาน บวม มีรอยปริแตก ฉีกขาด เป็นต้น
2.บรรทุกของน้ำหนักเกินกำหนด
3.ขับรถโดยใช้ความเร็วเกิดพิกัดยาง
4.ดูแลลมยางไม่ถูกต้อง เช่น เปลี่ยนยางรถยนต์ใหม่แต่ยังใช้จุ๊บเติมลมอันเก่า ใช้ลมยางสุงมากเกินความจำเป็นเมื่อเกิดกระแทกอาจทำให้ยางแตกเสียหายได้ และ กรณีเติมลทยางอ่อนไป อาจทำให้เกิดยางสึกผิดปกติ
5.แรงเสียดทาน หรือหลุมบ่อที่อยู่บนท้องถนน
6.เลือกใช้ยางรถยนต์ไม่ถูกขนาด เช่น นำยางรถเก๋งมาใส่รถปิคอัพ เป็นต้น)
1.ตั้งสติให้เร็วที่สุด ไม่ตื่นตระหนก และ หยุดเหยียบคันเร่ง และเปิดไฟฉุกเฉิน
2.จับพวงมาลัยด้วยสองมือและห้ามหักพวกมาลัยกระทันหันให้ประคองพวงมาลัยไปเรื่อยๆ
3.เมื่อความเร็วลดลงๆค่อยๆแตะเบรคเบาๆ กรณีที่รถเป็นเกียร์กระปุกให้แตะครัชเมื่อรถใกล้จอดสนิท
4.ในทุกกรณีห้ามใช้เบรคมือเพราะอาจจะทำให้รถนั้นปัดหรือเสียหลักได้
แต่ในล้อหลังไม่ได้เชื่อมต่อกับพวงมาลัยรถยนต์จึงไม่สามารถบังคับทิศทางได้เราจึงควรเปลี่ยนยางที่มีคุณภาพดีไว้ในตำแหน่งเพลาหลัง ซึ่งการเปลี่ยนยางตามข้างต้นจะช่วยลดความเสี่ยงเหตุการณ์ดังนี่
• การควบคุมรถยนต์ที่ดีในกรณีที่ต้องทำการหยุดรถฉุกเฉิน หรือต้องเลี้ยววงแคบ
• ลดความเสี่ยงการในการสูญเสียการควบคุมรถยนต์ โดยเฉพาะบนพื้นถนนเปียก
• การเกาะถนนที่ดีกว่า โดยเฉพาะในสถานการณ์คับขัน ไม่ว่ารถของคุณจะขับเคลื่อนล้อหน้าหรือล้อหลังก็ตาม
1.) กรณีที่ขับรถวิ่งระยะยาวจะทำให้อุณหภูมิในยางนั้นเพิ่มสูงขึ้นซึ่งแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นนั้นมีความร้อนที่เพิ่มขึ้นแตกต่างกันซึ่งไม่สามารถระบุได้
2.) เมื่อแก้มยางมีการขยับตัวจะทำให้เกิดความรู้ภายในท้องยาง
ในการวิ่งทางไกลโดยปกติความดันลมยางจะเพิ่มขึ้น 2-3 ปอนด์/ตารางนิ้ว เพื่อป้องกันยางร้อนมากจนอาจระเบิดเสียหายนั้น ทางผู้ใช้หลายๆรายจะทำการลดลมยางเพื่อรองรับกับการเพิมขึ้นของอัตรลม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดเนื่องจากการวิ่งระไกลนั้นมีความแตกต่างกับวิ่งระยะใกล้เพราะ จากข้างต้น
ความร้อนของยางนั้นสามารถเกิดจากการขยับตัวของแก้มยางได้ซึ่งในระยะทางไกลการขยับตัวของยางมีระยะเวลาที่นานกว่าปกติซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วหากแก้มยางอ่อนเกินไปนั้นจะมีการขยับตัวมากกว่ปกติซึ่งอาจทำให้ความดันลมในยางนั้นสูงเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 ปอนด์/ตารางนิ้ว ดังนั้นผู้ขับขี่ขับรถระยะทางไกลนั้นควรเติมลมให้สูงกว่าปกติ 1- 2 ปอนด์/ตารางนิ้ว เพื่อให้ลดการขยับตัวของแก้มยางซึ่งจะทำให้ความดันยางนั้นไม่สูงจนเกินไปซึ่งอาจส่งผลเสียต่อยางได้
ยางสภาพปกติ และ ยางที่เปลี่ยนไม่ควรมีอายุไม่เกิน 4 ปี นับจากวันผลิต ที่ไม่เกิน 4 ปี เนื่องจากเวลาใช้งานจริงอีก 2 ปี ซึ่งยางควรมีอายุทั้งหมดไม่เกิน 6 ปี
หมายเหตุ
จากการทดสอบยางปีเก่าไม่มีผลต่อการใช้งาน
เมื่อมีการประกอบยางใหม่นั้น ล้อควรมีการกลิ้งที่กลมและหมุนได้ตามศูนย์ นิ่ง ไม่แกว่ง ไม่สบัด แต่ในการประกอบยางใหม่นั้น ทั้งในส่วนของกระทะ และ ยางนั้นในแต่ละจุด ด้วยน้ำหนักที่ไม่เท่ากัน ซึ่งทำให้ยางนั้นวิ่งไม่กลม ซึ่งอาจส่งผลให้ยางสึกผิดปกติ ล้อสั่น ขับไม่นิ่ง ซึ่งทำให้ต้องทำการถ่วงล้อโดยใช้ตะกั่วติดในส่วนที่น้ำหนักมีความแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้น้ำหนักแต่ละจุดของยางมีน้ำหนักเท่ากัน
การตั้งศูนย์นั้นหรือการปรับ ในส่วนของมุมล้อต่างๆ ซึ่ง มีอยู่ 3 มุม
เนื่องจากการใช้งานของรถนั้นมีการสั่นสะเทือนจากพื้นถนนหรือจากสิ่งต่างๆซึ่งอาจทำให้มุม ต่างๆนั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานเมื่อมีการเปลี่ยนยางใหม่ควรตั้งศูนย์เพื่อให้ศูนย์ตรงตามมาตรฐาน เพื่อให้ยางสึกปกติ และ ใช้งานได้อย่างดี
เนื่องจากการใช้งานของรถนั้นมีการสั่นสะเทือนจากพื้นถนนหรือจากสิ่งต่างๆซึ่งอาจทำให้มุม ต่างๆนั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานเมื่อมีการเปลี่ยนยางใหม่ควรตั้งศูนย์เพื่อให้ศูนย์ตรงตามมาตรฐาน เพื่อให้ยางสึกปกติ และ ใช้งานได้อย่างดี
แรงดันลมมาตรฐานของยางรถยนต์ทุกรุ่น มีระบุไว้บนสติ๊กเกอร์ที่ตัวรถยนต์หรือคู่มือประจำรถยนต์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 28 - 32 ปอนด์/ตารางนิ้ว (PSI) สำหรับรถยนต์นั่ง การวัดแรงดันลมยาง ต้องใช้มาตรฐานที่ได้มาตรฐานและวัดตอนที่ยางเย็นหรือร้อนไม่มาก
ยางใหม่ต้อง "รัน - อิน"++
ในการเปลี่ยนยางใหม่นั้นเมื่อเราเปลี่ยน ยางใหม่ในช่วง 100 - 200 กิโลเมตรแรก ควรใช้ความเร็วไม่เกิน 80 - 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อให้โครงสร้างแก้มยาง และหน้ายางมีการปรับตัวกับการใช้งานจริงของรถแต่คันนั้นๆ ซึ่งยางทุกเส้น ถูกผลิตออกมาให้รับกับมุมแคมเบอร์ของล้อเท่ากับ 0 คือตั้งฉากกับพื้น ในช่วงแรกจึงต้องใช้เวลาให้หน้ายางสึกปรับตัวรับกับศูนย์ล้อ
การเสียหายของยาง
อุณภูมิภายในยาง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ยางเกิดการเสียหาย ซึ่ง อุณหภูมิภายในท้องยางนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการเติมลมยาง
ซึ่งจากภาพจะเห็น ว่า เมื่อเราเติมลมยางตามมาตราฐานในสเป็คของรถแต่ละคันนั้น เมื่อขับรถไปนั้นอุณหภูมิภายในยางค่อนข้างอยู่ในสภาพที่ไม่สูงมากนัก
แต่เมื่อเติมลมต่ำกว่าหรือสูงกว่ามาตรฐานก็จะทำให้สภาพอุณหภูมิภายในยางเพิ่มมากขึ้นหรือสูงเกินกว่าสภาพที่ควรจะเป็น
ซึ่งเมื่อยางอุณหภูมิสูงขึ้นนั้นมีโอกาสทำให้ยางสึกเร็วกว่าปกติ เนื่องจากเนื้อยางที่ร้อนเมื่อหน้ายางจะขัดสีกับพื้นถนนจะมีโอกาสสึกได้เร็วกว่ายางอุณหภูมิต่ำ
ยางเสียหายประเภทอื่นๆ เช่น ภายในยางร้อนมากๆก็มีโอกาสระเบิดเสียหายได้มากกว่าปกติเนื่องจากแรงดันลมในยางสูงมาก
ในเรื่องของการเกาะถนนและการสึกของยาง
ในกรณีที่เติมลมยางสูง
จากภาพจะเห็นได้ว่าเฉพาะบริเวณส่วนกลางของหน้ายางนั้นจะสัมผัสกับพื้นถนน ซึ่งทำให้ยึดเกาะถนนได้ไม่เต็มสมรรถภาพของยาง
และยังส่งผลให้บริเวณหน้ายางบริเวณร่องกลางนั้นสึกเร็วกว่าบริเวณอื่นๆ
ในกรณีที่เติมลมอ่อน
จากภาพจะเห็นได้ว่าบริเวณไหล่ยางเป็นบริเวณที่สัมผัสกับถนนมากที่สุด ซึ่งทำให้การยึดเกาะถนนได้ไม่เต็มสมรรถภาพของยาง
และยังส่งผลให้บริเวณไหล่ยางนั้นสึกเร็วกว่าบริเวณอื่นๆ
ดังนั้นราควรเติมลมยางให้ตรงตามมาตรฐานของแต่ละรถยนต์และแต่ละการใช้งานเพื่อป้องกันยางเสียหายและใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพของยาง